BANGKOK GRAPHIC

การออกแบบระบบกริด งานออกแบบสิ่งพิมพ์

การออกแบบระบบกริด งานออกแบบสิ่งพิมพ์

การ รับงานออกแบบโบวชัว Brochure Design การ รับงานออกแบบแมคกาซีน Magazine Design สิ่งที่ต้อคำนึงคือ

การออกแบบระบบกริด

ในการออกแบบระบบกริดนั้น จะต้องคำนึงถึงเนื้อหาที่จะนำมาจัดวางเป็นสำคัญการแบ่งพื้นที่ออกเป็นยูนิตกริดจำนวนและขนาดเท่าใดนั้น จะต้องเหมาะสมกับปริมาณข้อมูลทั้งที่เป็นตัวอักษรและเป็นภาพสำหรับยูนิตกริดที่ใช้ในการวางตัวอักษรนั้น ความกว้างของยูนิตกริด คือ ความยาวของบรรทัด (line length) ซึ่งจะมีผลต่อขนาดตัวอักษร และขนาดของช่องว่างระหว่างบรรทัดหรือช่วงบรรทัดด้วย หลักการง่ายๆ คือ ความกว้างของยูนิตกริดที่อ่านได้ง่ายนั้นน่าจะอยู่ระหว่างขนาดความยาว 35-65 ตัวอักษร และหากยิ่งยูนิตกริดที่มีขนาดกว้างมาก ช่วงบรรทัดก็ควรจะมีขนาดกว้างมากขึ้นด้วยการออกแบบเมนูสคริปต์ กริดการออกแบบเมนูสคริปต์ กริด จะเริ่มด้วยการแบ่งหน้ากระดาษออกเป็นยูนิตใหญ่ 1 ยูนิต โดยไม่มีการแบ่ง เช่น แบ่งยูนิตกริดให้ย่อยลงไปอีกทั้งในทางตั้งและทางนอน ทั้งนี้โดยมีส่วนพื้นที่เว้นว่างที่จะเป็นมาร์จินและกัตเตอร์มากพอสมควร เนื่องจากสิ่งพิมพ์ที่ใช้ระบบกริดนี้ มักจะเป็นสิ่งพิมพ์ที่เป็นข้อความต่อเนื่องขนาดยาวมากๆ ให้กว้างจะช่วยให้ตัวไม่หายไประหว่างออกหนังสือ โดยเฉพาะหนังสือที่มีขนาดหนา การใช้กริดที่มีโครงสร้างที่กลับซ้ายขวากัน หรือมิลเลอร์ กริด ก็เป็นทางเลือกที่ดีวิธีหนึ่งสำหรับการแก้ปัญหานี้ การออกแบบเมนูสคริปต์ กริดเป็นการออกแบบที่ค่อนข้างเรียบง่าย ซึ่งเหมือนเกือบจะเป็นสูตรสำเร็จ ประกอบกับไม่มีความซับซ้อนที่ปรับเปลี่ยนให้แตกต่างกันได้ทำให้โครงสร้างของสิ่งพิมพ์ที่ใช้กริดประเภทนี้มีลักษณะเหมือนหรือใกล้เคียงกับสิ่งพิมพ์อื่นที่ใช้กริดแบบเดียวกัน การสร้างเอกลักษณ์ในการออกแบบจึงต้องใช้ความแตกต่างในการใช้ตัวพิมพ์ในส่วนที่เป็นหัวเรื่องและตัวข้อความการออกแบบคอลัมน์ กริดการออกแบบคอลัมน์ กริด จะเริ่มด้วยการแบ่งหน้ากระดาษออกเป็นคอลัมน์ เช่น แบ่งพื้นที่เป็นสองหรือสองยูนิตกริดในทางแนวตั้ง โดยจะไม่มีการแบ่งยูนิตกริด ให้ย่อยลงไปอีกในทางแนวนอนทั้งนี้โดยมีส่วนพื้นที่เว้นว่างที่จะเป็นอัลลีย์ มาร์จิน และกัตเตอร์มากพอสมควร เช่น หากในกรณีที่เป็นหนังสือก็อาจจะมีพื้นที่ที่จะเป็นอัลลีย์ มาร์จิน และกัตเตอร์รวมกันแล้วประมาณร้อยละ 50 ของหน้ากระดาษ ในกรณีที่เป็นนิตยสารก็อาจจะมีพื้นที่ที่จะเป็นอัลลีย์ มาร์จิน และกัตเตอร์ รวมกัน แล้วประมาณร้อยละ 20 ถึง 30 ของหน้ากระดาษ เป็นต้นตัวอย่างของขนาดต่างๆ ของส่วนประกอบของระบบกริดสำหรับหน้ากระดาษ ขนาด 8.5 นิ้ว x 11 นิ้ว ในการออกแบบคอลัมน์ กริด เช่นมาร์จินบน เท่ากับ 48 พอยต์มาร์จินล่าง เท่ากับ 60 พอยต์มาร์จินข้าง (นอก) เท่ากับ 4 ไพก้ากัตเตอร์ หรือมาร์จินข้าง (ใน) เท่ากับ 3 ไพก้าอัลลีย์ระหว่างยูนิตกริด หากเป็นหน้าที่มีสองคอลัมน์ เท่ากับ 2 ไพก้าอัลลีย์ระหว่างยูนิตกริด หากเป็นหน้าที่มีสามคอลัมน์ เท่ากับ 1 ไพก้าในการออกแบบคอลัมน์ กริดทำได้ไม่ยาก และเป็นที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไปในสิ่งพิมพ์ต่างๆ แต่ก็มีข้อเสียคือเป็นระบบกริดที่ไม่ช่วยให้สามารถจัดวางองค์ประกอบแล้วเกิดเอกลักษณ์เฉพาะตัว เนื่องจากระบบกริดซึ่งถือเป็นโครงสร้างได้รับการพัฒนาขึ้นในลักษณะที่เกือบจะเป็นสูตรสำเร็จ จึงมีโอกาสที่โครงสร้างของสิ่งพิมพ์จะมีลักษณะเหมือนหรือใกล้เคียงกับระบบกริดที่สิ่งพิมพ์อื่นพัฒนาขึ้นใช้ได้ค่อนข้างมากการออกแบบโมดูลาร์ กริดการออกแบบโมดูลาร์ กริดทำได้ ใน 2 ลักษณะคือ เป็นแบบทั่วไป และแบบเฉพาะโมดูลาร กรีดแบบทั่วไปนั้นจะเป็นแบบที่ง่ายกว่าในการออกแบบ เริ่มด้วยการแบ่งหน้ากระดาษออกเป็นหลายคอลัมน์ เช่นเดียวกันกับการออกแบบคอมลัมน์ กริดแต่ละคอลัมน์อาจจะมีขนาดเท่าหรือไม่เท่ากันก็ได้ แล้วแบ่งคอลัมน์ให้ย่อยลงไปอีกในทางแนวนอนเป็นยูนิตสี่เหลี่ยม แต่ละยูนิตอาจจะมีอัลลีย์เป็นช่องว่างคั่นอยู่ทั้งแนวตั้งและแนวนอนส่วนโมดูลาร์ กริดแบบเฉพาะนั้นจะเป็นแบบที่ยากกว่าในการออกแบบโดยเน้นการสร้างรูปแบบเฉพาะตัวให้เกิดขึ้นกับสิ่งพิมพ์โดยอาศัยโครงสร้างของการจัดวางองค์ประกอบที่แตกต่างไปจากหน้าของสิ่งพิมพ์ที่พบเห็นกันอยู่ทั่วไป และมีความเหมาะสมกับการใช้เฉพาะกรณีสิ่งพิมพ์ใดสิ่งพิมพ์หนึ่งเป็นพิเศษ ในการออกแบบระบบกริดแบบเฉพาะตัวนี้ มีลำดับขั้นตอนในการออกแบบ ดังนี้ขั้นที่ 1 สำรวจประเภทและลักษณะของข้อมูลที่จะต้องการสื่อสารดังที่ได้เปรียบเทียบระบบกริดกับการสร้างบ้านไว้ในตอนต้น ในการเลือ่กความถี่ ห่างของเสาหรือความสูงต่ำของคานนั้น สิ่งที่มีผลต่อการตัดสินใจก็คือ จำนวนและลักษณะของฝาผนัง ประตูและหน้าต่าง การจะออกแบบระบบกริดก็ควรเริ่มด้วยการสำรวจดูข้อมูลต่างๆที่จะมาเป็นองค์ประกอบที่จะต้องได้รับการจัดวางลงในหน้ากระดาษเริ่มตั้งแต่ลักษณะขององค์ประกอบว่าเป็นเนื้อหาข้อมูลประเภทที่เป็นตัวอักษรอย่างเดียว หรือมีภาพประกอบด้วย หรือเป็นสิ่งพิมพ์ที่เน้นภาพประกอบเป็นส่วนสำคัญ โดยมีข้อความเป็นคำบรรยายเพียงเล็กน้อย นอกจากนี้ก็ต้องพิจารณาถึงจำนวนขององค์ประกอบด้วยว่า ส่วนที่เป็นข้อความเนื้อหามีความสั้นยาวขนาดไหน อีกทั้งส่วนที่เป็นภาพประกอบนั้นมีจำนวนมากน้อยเพียงไร ในขั้นการสำรวจนี้ ไม่ได้หมายถึงกับว่าจะต้องได้ข้อมูลที่แน่นอนไม่ผิดเพี้ยน เพียงแต่ให้ทราบข้อมูลคร่าวๆ ก็พอขั้นที่ 2 ออกแบบภาพรวมๆ ของหน้าคู่แต่ละคู่หากเป็นไปได้ นักออกแบบควรจะได้ลองออกแบบภาพรวมๆ ของสิ่งพิมพ์นั้นก่อนจะได้ลงมือออกแบบระบบกริดโดยทดลองจัดวางองค์ประกอบทั้งที่เป็นข้อความและเป็นภาพลงในหน้ากระดาษอย่างคร่าวๆ จากนั้นเมื่อรู้สึกว่าได้ภาพรวมๆ ที่ต้องการแล้วก็นำเอาหน้าคู่ที่ได้ลองจัดวางองค์ประกอบแล้วเหล่านั้นมาวางด้วยกัน เมื่อเห็นว่าแต่ละหน้าคู่มีส่วนใดที่มีโครงสร้างใกล้เคียงกันก็ลองวาดเส้นที่เป็นแนวโครงสร้างนั้นเอาไว้ เมื่อวาดเส้นที่อยู่ในตำแหน่งใกล้เคียงกันซ้ำๆ กันหลายๆ หน้าคู่ครบถ้วนแล้วก็จะสามารถใช้เส้นเหล่านั้นเป็นแนวทางในการกำหนดเส้นกริดต่อไปอย่างไรก็ตามการดำเนินการในขั้นที่ 2 นี้อาจจะมีการดดำเนินการหรือไม่ก็ได้ ส่วนใหญ่แล้วจะมีการดำเนินการในกรณีการจัดทำหนังสือเล่มมากกว่าจะทำในกรณีหนังสือพิมพ์หรือนิตยสาร ซึ่งมักจะเป็นการดำเนินการในขั้นที่ 3 เลยขั้นที่ 3 กำหนดขนาดตัวอักษรที่เป็นตัวอักษรที่คาดว่าจะมีการใช้มากที่สุดเพื่อให้ระบบกริดที่ได้ออกแบบขึ้นสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด ดังนั้นการกำหนดขนาดที่แน่นอนของส่วนประกอบต่างๆ ของระบบกริดจึงควรมีพื้นฐานมาจากหน่วยขององค์ประกอบที่เล็กที่สุดในหน้ากระดาษ ซึ่งก็คือ ตัวอักษรหรือตัวพิมพ์ซึ่งจะใช้ในส่วนของข้อความละเอียด หรือตัวเนื้อเรื่อง โดยมากแล้วตัวพิมพ์ซึ่งจะใช้ในส่วนของข้อความละเอียด หรือตัวเนื้อเรื่อง มักจะมีขนาดเท่ากันตลอดทั้งเล่ม โดยขนาดก็จะเป็นขนาดที่เน้นการอ่านได้ง่ายเป็นสำคัญ คือ จะต้องอ่านต่อเนื่องได้นานอย่างสบายตา ภาษาไทยมักจะอยู่ในช่วง 12-16 พอยต์ ภาษาอังกฤษมักจะอยู่ในช่วง 8-14 พอยต์ อย่างไรก็ตาม ก็ต้องขึ้นอยู่กับผู้อ่านที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักด้วยว่าเป็นใคร หากเป็นเด็กหรือคนชราอาจจะต้องใช้ตัว อักษรที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติขั้นที่ 4 กำหนดหน่วยที่ย่อยที่สุด เมื่อมีการกำหนดขนาดตัวตัวพิมพ์ซึ่งจะใช้ในส่วนของข้อความละเอียดแล้ว ก็จะต้องกำหนดด้วยว่า ในการนำตัวพิมพ์ขนาดนั้นๆมาจัดวางต่อเนื่องกันเป็นข้อความเนื้อเรื่องยาวๆ นั้น มาจัดวางต่อเนื่องกันเป็นข้อความเนื้อเรื่องยาวๆ นั้นจะมีการเว้นช่องว่างระหว่างบรรทัดเท่าใดเมื่อมีการกำหนดช่องว่างระหว่างบรรทัดแล้ว ก็ให้นำมาบวกกับขนาดตัวพิมพ์ ซึ่งได้กำหนดไว้ในขั้นที่ 3 เช่น ขนาดตัวตัวพิมพ์ซึ่งกำหนดไว้เป็น 12 พอยต์ และช่องว่างระหว่างบรรทัดเป็น 2 พอยต์ เมื่อรวมกันจะเป็น 14 พอยต์หากเป็นการเรียงบรรทัดโดยไม่มีช่องว่างระหว่างบรรทัด ก่จะใช้ขนาดของตัวพิมพ์ที่กำหนดเป็นขนาดของหน่วยที่ย่อยที่สุดเลย เช่นหากเป็นตัวพิมพ์ขนาด 12 พอยต์ หน่วยที่เล็กที่สุดที่จะนำมาสร้างเป็นกริด ก็คือ 12 x 12 พอยต์ขั้นที่ 5 การวางหน่วยที่ย่อยที่สุด เมื่อได้หน่วยที่ย่อยที่สุดจากขั้นที่ 4 แล้ว ก็นำหน่วยนั้นไปวางในหน้ากระดาษ โดยเรียงต่อกันทั้งแนวตั้งและแนวนอนให้เต็มพื้นที่ตลอดความกว้างและความสูงของหน้ากระดาษทั้งหน้า การวางนี้อาจจะวางจากมุมด้านซ้ายหรือวางออกจากตรงกลางของหน้ากระดาษก็ได้ขั้นที่ 6 เลือกจัดกลุ่มหน่วยที่ย่อยที่สุดให้เกิดเป็นยูนิตกริด อัลลีย์ มาร์จิน และกัตเตอร์ขั้นตอนสุดท้ายนี้ ก็คือ การกำหนดเส้นที่แน่นอนที่จะใช้เป็นระบบกริดต่อไป ซึ่งหากมีการดำเนินการในขั้นที่ 2 ก็จะช่วยได้มากวิธีการก็คือ นำเส้นที่ลากไว้เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดเส้นกรีดในขั้นที่ 2 มาทาบกับเส้นตารางละเอียดในขึ้นที่ 5 จากนั้นก็ลากเส้นที่จะใช้เป็นระบบกริดโดยขยับเส้นจากขั้นที่ 2 ให้มาลงในเส้นที่อยู่ใกล้เคียงที่สุด จากขั้นที่ 5 ก็จะได้เส้นที่แน่นอนที่จะใช้เป็นระบบกริด หากไม่มีการดำเนินการในขั้นที่ 2 นักออกแบบก็สามารถลากเส้นที่แน่นอนที่จะใช้เป็นระบบกริดได้โดยเลือกลากลงบนเส้น จากขั้นที่ 5 ทั้งนี้จะต้องไม่ลากเส้นระหว่างตาราง แต่ต้องเป็นระบบกริดได้โดยเลือกลากลงบนเส้นระบบกริดแบบเฉพาะตัวนั้นมีข้อดีที่เห็นได้ชัด ก็คือ จะทำหน้าที่เป็นเสมือนโครงสร้างที่มีเอกลักษณ์อยู่ในตัวอยู่แล้ว เมื่อนำองค์ประกอบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาพหรือตัวอักษรมาจัดวาง ก็จะได้หน้าของสิ่งพิมพ์ที่ดูมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวขึ้นมาด้วย แต่ก็มีข้อเสียคือเป็นระบบกริดที่ค่อนข้างยากแก่การพัฒนาขึ้นใช้งาน กล่าวคือ จะต้องอาศัยนักออกแบบที่มีประสบการณ์มาทำหน้าที่นี้การออกแบบไฮราชิเคิล กริดการออกแบบไฮราชิเคิล กริด จะเน้นการสร้างรูปแบบเฉพาะตัวให้เกิดขึ้นกับสิ่งพิมพ์ เหมือนเป้นการสร้างโครงสร้างให้สิ่งพิมพ์เป็นกรณีๆ ไปเป็นพิเศษเป็นระบบโครงสร้างที่มีรูปแบบไม่แน่นอนและต้องการความชำนาญในการออกแบบสูง จึงจะได้ระบบกริดที่ใช้งานได้จริงๆ มีลักษณะขั้นตอนคล้ายๆ กับการออกแบบโมดูลาร์ กริดแบบเฉพาะ คือ เริ่มด้วยการสำรวจข้อมูลทั้งในส่วนที่เป็นข้อความและภาพก่อนว่ามีลักษณะเช่นไร แล้วจึงวางแผนคร่าวๆ ว่าภาพรวมของสิ่งพิมพ์จะมีลักษณะเช่นไร แล้วจึงวางยูนิตกริด ซึ่งมักจะมีหลายขนาดต่างๆ กับ ลงไปในพื้นที่หน้ากระดาษ แต่การวางนั้นไม่ได้วางต่อเนื่องขนานกับเหมือนโมดูลาร์