BANGKOK GRAPHIC

การออกแบบการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำโขง

การออกแบบการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำโขง

GMS. Economic Cooperation Program โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำโขง

เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจประชาคมอาเซียนแบบคู่ขนาน

  ลุ่มแม่น้ำโขงถือเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่หล่อเลี้ยงประชากรโลกกว่าหลายสิบล้านชีวิต แม้พื้นที่กว่า 2.6 ล้านตารางกิโลเมตรนี้จะอุดมไปด้วยทรัพยากรป่าไม้ ประมง และพลังงานที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาล แต่ภาวะขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานในห้วงเวลาสองทศวรรษที่ผ่านมา กลับเป็นปัจจัยที่ขัดขวางไม่ให้คนในพื้นที่มีสถานภาพทางเศรษฐกิจที่มั่งคั่งอย่างที่ควรจะเป็น   “โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำโขง” (Greater Mekong Subregion Program) หรือ “จีเอ็มเอส” จึงถือกำเนิดขึ้นในปี ค.ศ. 1992 เพื่อเป็นตัวกลางความร่วมมือทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐา นหลายแขนงที่จะยกระดับความเป็นอยู่ของผู้คนในประเทศเขตหกเหลี่ยมเศรษฐกิจ อันได้แก่ จีน พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และไทย หรือสมาชิกอาเซียนเป็นหลัก   โดยโครงการนี้มีชื่อเต็มว่า GMS Economic Corridors หรือ ก็คือ ระเบียงเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการขยายตัวด้านอุตสาหกรรม การเกษตร การค้า การลงทุนและบริการ เพื่อให้เกิดการจ้างงาน, ยกระดับการครองชีพ, การถ่ายทอดเทคโนโลยีและการศึกษาระหว่างกัน, การใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ส่งเสริมกันอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยเพิ่มขีดความสามารถและโอกาสการแข่งขันในเวทีการค้าโลก   เพื่อสร้างอนุภูมิภาคที่บูรณาการเป็นหนึ่งเดียวกัน มีความปรองดอง และความมั่งคั่งตามวิสัยทัศน์ แผนงาน GMS ได้กำหนดยุทธศาสตร์ร่วมกัน 3 ด้าน ดังนี้
  1. สร้างความเชื่อมโยง (connectivity) ระหว่างกันให้มากขึ้นผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ ที่ยั่งยืนและยกระดับโครงข่ายเส้นทางคมนาคมขนส่งให้เป็นแนวพื้นที่เศรษฐกิจ (economic Corridors)
  2. เสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขัน (competitiveness) ผ่านการอำนวยความสะดวกการเคลื่อนย้ายผู้คน และสินค้าข้ามพรมแดนอย่างมีประสิทธิภาพและส่งเสริมบูรณาการของตลาด กระบวนการผลิต และห่วงโซ่คุณค่า
  3. สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน (community) ผ่านโครงการและแผนงานที่ตอบสนองต่อประเด็นที่เกี่ยวข้อง กับสังคมและสิ่งแวดล้อม ถนน ทางด่วน หรือสะพาน มองเผินๆ อาจเป็นเพียงเส้นทางขนส่งเพื่อความสะดวกในการคมนาคม แต่สิ่งปลูกสร้างเหล่านี้คือกุญแจสำคัญที่สุดในยุทธศาสตร์การพัฒนาของจีเอ็มเอสตลอด 23 ปีที่ผ่านมา เพราะถึงจะได้เปรียบจากเป็นเจ้าของธรรมชาติอันสมบูรณ์ แต่ความหลากหลายของภูมิศาสตร์ในพื้นที่ กลับเป็นอุปสรรคสำคัญในการเดินทางระหว่างกัน จีเอ็มเอสจึงผุดไอเดีย “ระเบียงเศรษฐกิจ” (Economic Corridors) สร้างเส้นทางคมนาคมเชื่อมพลังเศรษฐกิจที่จะกระตุ้นให้เกิดการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ การท่องเที่ยว ไปจนถึงการสานสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในพื้นที่
  โดยแผนงานที่มีความสำคัญในลำดับสูง (Flagship Programs) จำนวน 11 แผนงาน ได้แก่
  1. แผนงานพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor)
  2. แผนงานพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West EconomicCorridor)
  3. แผนงานพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจตอนใต้ (Southern Economic Corridor)
  4. แผนงานพัฒนาเครือข่ายโทรคมนาคม (Telecommunications Backbone)
  5. แผนงานซื้อขายไฟฟ้าและการเชื่อมโยงเครือข่ายสายส่งไฟฟ้า (Regional Power Interconnection and Trading Arrangements)
  6. แผนงานการอำนวยความสะดวกการค้าและการลงทุนข้ามพรมแดน (Facilitating Cross-Border Trade and Investment)
  7. แผนงานเสริมสร้างการมีส่วนร่วมและความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน (Enhancing Private Sector Participation and Competitiveness)
  8. แผนงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และทักษะความชำนาญ (Developing Human Resources and Skills Competencies)
  9. กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาสิ่งแวดล้อม (Strategic Environment Framework)
  10. แผนงานการป้องกันน้ำท่วมและการจัดการทรัพยากรน้ำ (Flood Control and Water Resource Management)
  11. แผนงานการพัฒนาการท่องเที่ยว (GMS Tourism Development)
  ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสื่อสารในศตวรรษที่ 21 เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการพัฒนาเกษตรกรรมในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง เ ห็นได้จากการจัดตั้ง “เครือข่ายข้อมูลเกษตรจีเอ็มเอส” (GMS-AINS Agriculture Information Network Service) ซึ่งจะมาในรูปของฐานข้อมูลออนไลน์ที่ใช้เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนข้อมูลการค้า (E-trade platform) ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลอุปสงค์อุปทานสินค้าเกษตรระหว่างประเทศสมาชิก ไปจนถึงระบบการชำระเงินซื้อสินค้าเกษตรออนไลน์ ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ผ่านทั้งอินเทอร์เน็ตและแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน เป็นที่คาดการณ์กันว่าเวทีเกษตรบนโลกไซเบอร์แห่งแรกนี้ จะพร้อมให้บริการอย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่ปี 2017 เป็นต้นไป   ในการประชุมสุดยอดผู้นำครั้งล่าสุดเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ทศวรรษที่ 3 ของจีเอ็มเอส ได้มีการจัดทำกรอบยุทธศาสตร์พัฒนาใหม่ๆ ที่ขยายตัวออกจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างเส้นทางคมนาคม ซึ่งดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว ไปสู่การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน รวมถึงการลงทุนพัฒนาภาคส่วนอื่นๆ อย่างมาตรการส่งเสริมคมนาคมและการค้าบริเวณชายแดนที่จะกระตุ้นให้เกิดการไหลเวียนของสินค้า บริการ และแรงงานระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน